ประวัติ ของ ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย

มารดาของเลอ เกลซีโยเกิดที่เมืองนิสในริเวียราฝรั่งเศส บิดาบนหมู่เกาะมอริเชียส (ซึ่งเป็นดินแดนของอังกฤษแต่บิดามีเชื้อชาติฝรั่งเศส) บรรพบุรุษของทั้งบิดาและมารดาเดิมมาจากจังหวัดมอร์บีอ็องทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของบริตานี[2]บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดา ฟร็องซัว อาเล็กซิส เลอ เกลซีโย หนีจากฝรั่งเศสพร้อมกับภรรยาและบุตรีในปี ค.ศ. 1798 ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มอริเชียสที่ขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ต่อมาตกไปเป็นของอังกฤษ แต่ชาวอาณานิคมฝรั่งเศสได้รับอนุญาตให้ยังคงรักษาขนบประเพณีและใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ แม้ว่าเลอ เกลซีโยจะไม่เคยไปพำนักอาศัยอยู่ที่มอริเชียสมากไปกว่าครั้งละสองสามเดือน แต่นอกจากเป็นชาวฝรั่งเศสแล้วเลอ เกลซีโยก็ยังดำรงรักษาความเป็นชาวมอริเชียสอยู่[3][4] ฉะนั้นเลอ เกลซีโยจึงเป็นบุคคลสองสัญชาติ--ชาวฝรั่งเศสและชาวมอริเชียส (มอริเชียสได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1968) และเรียกมอริเชียสว่าเป็น “ปิตุภูมิน้อย” (little fatherland)[5][6]

เลอ เกลซีโยเองเกิดที่นิสซึ่งเป็นเมืองเกิดของมารดาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อบิดาไปรับราชการอยู่กับกองทัพบริติชในไนจีเรีย[7] เลอ เกลซีโยเติบโตขึ้นที่รอเกอบีลีแยร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ไม่ไกลจากนิสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1948 เมื่อมารดาและน้องชายย้ายไปสมทบกับบิดาในอาณานิคมไนจีเรีย นวนิยาย “Onitsha” ที่เขียนปี ค.ศ. 1991 เป็นนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ ในปี ค.ศ. 2004 บทความ “The African” บรรยายถึงชีวิตวัยเด็กในไนจีเรียและความสัมพันธ์กับบิดามารดา

หลังจากที่เข้าศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริสตอลในอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1959[8] เลอ เกลซีโยก็ไปได้รับปริญญาตรีที่นิสจากสถาบันวรรณกรรมศึกษา (Institut d’études littéraires) ในปี ปี ค.ศ. 1964 เลอ เกลซีโยได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยพรอว็องส์ โดยการเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกวีและนักเขียนชาวเบลเยียม อองรี มีโช[9]

หลังจากที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนและบริสตอลอยู่หลายปี เลอ เกลซีโยก็ย้ายไปไปเป็นอาจารย์ที่สหรัฐ ระหว่างปี ค.ศ. 1967 ก็ได้เข้ารับราชการในกองทหารฝรั่งเศสในประเทศไทย แต่ไม่นานก็ถูกย้ายไปยังประเทศเม็กซิโกเพราะไปทำการประท้วงต่อต้านการค้าประเวณีเด็ก ระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึงปี ค.ศ. 1974 เลอ เกลซีโยไปใช้ชีวิตอยู่กับชนเผ่า Embera-Wounaan ในปานามา เลอ เกลซีโยสมรสกับเฌเมีย ชาวโมร็อกโก ในปี ค.ศ. 1975 และมีลูกสาวด้วยกันสองคน (เลอ เกลซีโยมีลูกสาวอีกคนหนึ่งจากการสมรสครั้งแรก) ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เลอ เกลซีโยก็แบ่งเวลาระหว่างอัลเบอเคอร์คี (นิวเม็กซิโก), มอริเชียส และ นิส[10]

ในปี ค.ศ. 1983 เลอ เกลซีโยเขียนดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเป็นอาณานิคมของเม็กซิโกแก่ มหาวิทยาลัยแปร์ปีญ็องในหัวเรื่องการพิชิตชาวพูเรเปชา (ที่เดิมเรียกว่า “ทาราสคัน” (“Tarascans”)) ผู้ที่ในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐมิโชอากัง (Michoacán) ดุษฎีนิพนธ์ได้รับการนำไปพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษาสเปนในปี ค.ศ. 1985[11]

เลอ เกลซีโยเป็นอาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก และมักจะเดินทางไปเยือนประเทศเกาหลีใต้ เลอ เกลซีโยสอนภาษาฝรั่งเศสและวรรณคดีที่ Ewha Womans University ในโซล ระหว่างปีการศึกษา 2007[12][13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฌ็อง-มารี กุสตาฟว์ เลอ เกลซีโย http://agencebretagnepresse.com/fetch.php?id=12477 http://www.artelittera.com http://www.donga.com/fbin/output?f=total&n=2008100... http://www.forvo.com/word/Jean-Marie_Gustave_Le_Cl... http://www.iht.com/articles/reuters/2008/10/09/eur... http://joongangdaily.joins.com/article/view.asp?ai... http://www.mathieu-bourgois.com/photos-auteur.asp?... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://online.wsj.com/article/SB122532947829282765... http://www.yementimes.com/defaultdet.aspx?SUB_ID=2...